วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่9

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่อง
จากเป็นวันหยุดปีใหม่

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่8

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่อง
จากสอบกลางภาค

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่7

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่อง
จากมีการแข่งขันกีฬาสีเทา-เหลือง

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่6

ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากเป็นวันหยุดรัฐธรรมนูญ

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่5

-อาจารย์แจกเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ 

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่4

-อาจารย์สอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว
-อาจารย์ให้ดูทีวีครู เรื่อง ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ (ทำ Mind mapping)

 เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
     - เด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างน่ากลัว ควบคุมอารมณ์ให้ปกตินานๆไม่ได้
     - เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
     - ไม่สามารถอยู่กับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
เด็กกลุ่มนี้แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
      1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ เช่น เกิดเรื่องที่กระทบต่อจิตใจของเด็ก
      2. ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
การที่จะคิดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้
- สภาพแวดล้อม
- ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
- ไม่สามารถเรียนได้เช่นเด็กปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
- มีความคับข้องใจ เก็บกดอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย

  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก และกำลังได้รับความสนใจจากทางการแพทย์ ทางจิตวิทยา และทางการศึกษา ได้แก่

1. เด็กสมาธิสั้น   (Attention Deficit / Hyperactivity Disorder - ADHD)
ลักษณะอาการ
1. อาการสมาธิสั้น (Inattention)
1) มีความยากลำบากในการตั้งสมาธิ
2) มักวอกแวกง่าย ตามสิ่งเร้าภายนอก
3) ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย
4) ทำตามคำสั่งไม่จบ หรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ
5) หลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม
6) ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อ
7) มีความยากลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม
8) ทำของหายบ่อยๆ
9) มักลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำสม่ำเสมอ
 2. อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity)
1) ยุกยิก ขยับตัวไปมา
2) นั่งไม่ติดที่ มักต้องลุกเดินไปมา
3) มักวิ่งวุ่น หรือปีนป่าย ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
4) ไม่สามารถเล่นเงียบๆได้
5) เคลื่อนไหวไปมา คล้ายติดเครื่องยนต์ตลอดเวลา
6) พูดมากเกินไป
3. อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)
1) มีความยากลำบากในการรอคอย
2) พูดโพล่งขึ้นมา ก่อนถามจบ
3) ขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น ในวงสนทนาหรือในการเล่น
สาเหตุ
      โรคสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วน ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด คาดว่าเกิดจากสารเคมีในสมองบางชนิดไม่สมดุล เช่นdopamine, norepinephrine, serotonin ฯลฯ

ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorders – LD)
สาเหตุของปัญหาการเรียน
•     สติปัญญาบกพร่อง หรือปัญญาอ่อน (Mental Retardation)
•     วิตกกังวล หรือซึมเศร้า (Anxiety or Depression)
•     สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD)
•     ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder –LD)
•     เจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Illness)
•     ขาดโอกาสทางการศึกษา
•     ขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)
•     วิธีการสอนไม่เหมาะสม

 2. เด็กออทิสติก
    โรคออทิซึม (อังกฤษ: Autism) เป็นความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท โดยมีลักษณะเด่นคือความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสารและมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำๆ   ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่าผู้ป่วยออทิสติก อาการแสดงดังกล่าวมักปรากฏในวัยเด็กก่อนอายุ 3 ปี
 ลักษณะของเด็กออทิสติก
- อยู่ในโลกของตัวเอง โลกส่วนตัวสูง
- ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
- ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
- ไม่ยอมพูด
- เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
- ยึดติดวัตถุที่ชอบหรือรัก คนอื่นมาแย่งหรือแตะต้องไม่ได้
- ต่อต้าน แสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง ไร้เหตุผล
- มีท่าทีเหมือนคนหูหนวก
- ใช้วิธีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากคนทั่วไป

เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Disabilities)
     ความพิการซ้อน (Multiple Disabilities) หมายถึง ความบกพร่องร่วมกันมากกว่า 1 ลักษณะที่เกิดขึ้นต่อบุคคล (Simultaneous impairments) อาทิเช่น บกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับตาบอด หรือบกพร่องทางสติปัญญาร่วมกับความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ
     โดยปกติแล้ว สำหรับเด็ก ความซ้ำซ้อนเหล่านี้มักก่อให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาพิเศษที่เหมาะสมต่อความบกพร่องทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้  เด็กพิการซ้อนมักมีปัญหาความผิดปกติที่หลากหลาย ซึ่งมักได้แก่ การพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การเรียนรู้ การมองเห็น การได้ยิน ความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กยังอาจมีภาวะสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส (Sensory Losses) รวมทั้งมีปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคม

เด็กปัญญาเลิศ (Gifted child) หรือเด็กอัจฉริยะ
     คือเด็กที่มีระดับสติปัญญาสูงมาก (I.Q. อาจสูงถึง 130-140) เด็กกลุ่มนี้ก็จะดู คล้ายเด็กสมาธิสั้นเนื่องจากความที่เขาฉลาดมาก จึงมักมีความอยากรู้อยากเห็น มีพลังงานในตัวเองมาก นอกจากนี้เขาจะมีสมาธิดีมากใน เรื่องซึ่งตนเองสนใจ แต่ถ้าเรื่องไหนไม่อยู่ในความสนใจ ก็อาจไม่สนใจเลย จึงดูคล้ายเด็กสมาธิสั้นได้ แต่เรื่องไหนที่สนใจ เขาก็จะพยายามค้นคว้าจนมีความรู้เกินวัย ผู้เชี่ยวชาญบางท่านกำหนดเกณฑ์ของเด็กปัญญาเลิศ คือระดับสติปัญญาหรือไอคิว เกิน 130 บางท่านระดับความสามารถในการเรียน สูงกว่า 2 ชั้นปี
 
กิจกรรม

- อาจารย์ให้ดูวิดีโอของทีวีครู เรื่อง ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ แล้วให้เขียนสรุปออกมาเป็นผังความคิดหรือ Mind Mapping พร้อมตกแต่ง ส่งท้ายชั่วโมงเรียน

สิ่งที่ได้จาการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนการสอนควรคำนึงถึงตัวเด็กว่ามีความพร้อมหรือไม่และการจัดการเรียนการสอนให้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้น ต้องให้เด็กพัฒนาไปตามความเหมาะสมและความพร้อม อย่าเร่งรีบหรือใจร้อน


วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่3

-อาจารย์สอนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)


เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง ผู้ที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลาบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน และการทากิจกรรมของเด็ก จำแนกได้ดังนี้

1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่
1.1 ซีพี หรือ ซีรีบรัล พัลซี่ (C.P. : Cerebral Palsy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กาลังพัฒนาถูกทาลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด ซึ่งทาให้เกิดกลุ่มอาการผิดปกติอย่างถาวรจนทาให้การควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อสูญเสีย หรือบกพร่อง เช่น การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ 
   1.1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
   1.1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับให้ไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
   1.1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
   1.1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างกายมีอาการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
   1.1.4 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทาให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกาลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย เดินเขย่งปลายเท้า ขาไม่มีแรงต้องใช้การท้าวโต๊ะหรือเก้าอี้เพื่อลุกยืนขึ้นหรือพยุงตัว อาการอาจเลวลงช้าหรือเร็วตามสภาพของเซลล์กล้ามเนื้อที่เสื่อมสมรรถภาพ และจะทาให้เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ ท้ายที่สุดต้องนอนอยู่กับที่ ซึ่งจะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจาเลวลง สติปัญญาเสื่อม
1.3 โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
   1.3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida) ทาให้เกิดความพิการของประสาทไขสันหลังส่วนนั้น ๆ สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้ อาจมีน้าคั่งในสมอง และกระดูกเท้าพิการ เด็กประเภทนี้จะยืน เดินโดยใช้กายอุปกรณ์เสริม
   1.3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุทาให้กระดูกส่วนนั้นพิการ ขาสั้นเพราะการเจริญของกระดูกขาหยุดชะงัก
   1.3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือทันท่วงทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ
1.4 โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญที่ต่อมน้าเหลืองในลาคอ ลาไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทาลาย แขนหรือขาจะไม่มีกาลังในการเคลื่อนไหว ต่อมาทาให้มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา เพียงพิการแขนขา ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยกายอุปกรณ์เสริม
1.5 แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก หากเด็กที่มีความพิการมาแต่กำเนิดและได้รับการใส่กายอุปกรณ์เทียมเมื่ออายุยังน้อยจะสามารถปรับตัวได้ง่ายและดี แต่เด็กที่มีความพิการภายหลังถึงแม้จะได้รับการบาบัดรักษา ปรับสภาพ และฟื้นฟูสมรรถภาพจนสามารถเดินและใช้มือได้ด้วยกายอุปกรณ์เทียมแล้ว เด็กเหล่านี้ยังต้องการปรับตัว ปรับใจอีกระยะหนึ่ง
1.6 โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทาให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชัดจากกระดูกหน้าแข้ง
2. ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
2.1 โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง ที่พบบ่อยมีดังนี้ คือ
   2.1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชักจะทาให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น อาการชักอาจชักเป็นระยะสั้นหรือชักนานหลายนาที ชักครั้งเดียวหรือชักหลายครั้งติดต่อกัน ภายหลังการชักเด็กจะซึม อ่อนเพลียหรือหลับ และจาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างชักไม่ได้
   2.1.2 การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal) เป็นอาการชักชั่วระยะเวลาสั้น ๆ 5-10 วินาที เมื่อเกิดอาการชัก และหยุดชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย หลังจากนั้นก็จะเรียนหนังสือหรือทากิจกรรมต่อได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
   2.1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู่
   2.1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex) บางครั้งเรียกไซโคมอเตอร์ (Psychomotor) หรือเทมปอรัลโลบ (Temporal Lobe) เกิดอาการเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลาย ๆ ชั่วโมง ระหว่างมีอาการชักอาจกัดริมฝีปาก ทาท่าทางบางอย่างคล้ายไม่ตั้งใจ ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
   2.1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทาอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
2.2 โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม ซึ่งมีทั้งที่มีอาการรุนแรงหรือที่เป็นระยะยาวจนเกิดโรคแทรกซ้อน ปอดแฟบ
2.3 โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินซูลิน
2.4 โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
2.5 โรคศีรษะโตเนื่องจากน้าคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กาเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการอัมพาตของแขนขา สติปัญญาบกพร่องหรือมีอาการชักบ่อย ๆ
2.6 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด ที่มีอาการมากปากจะเขียว เล็บมือเล็บเท้าเขียว ถ้าได้รับการผ่าตัดรักษาในวัยทารกเด็กจะมีสุขภาพสมบูรณ์เหมือนคนปกติ
2.7 โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระดูก และไต
2.8 บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
การพูดและภาษาเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ทั้งนี้เพราะการพูดเป็นการแสดงออกทางภาษา ดังนั้นเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา จึงหมายถึง ผู้ที่พูดไม่ชัด และลีลาจังหวะการพูดผิดปกติ ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลาดับขั้น การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ คาพูดที่ยากหรือซับซ้อนหรือยาวจะยิ่งมีปัญหามากหรือมีอาการพูดและใช้ภาษาที่ผิดปกติ โดยการพูดนั้นเห็นได้ชัดว่าผิดแปลกไปจากการพูดของคนทั่วไป ทาให้ฟังไม่รู้เรื่อง สื่อความหมายต่อกันไม่ได้ หรือมีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด ซึ่งความบกพร่องทางการพูดและภาษาสามารถจำแนกได้ดังนี้ คือ

1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
   1.1 ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม เช่น พูดเสียงขึ้นจมูกเนื่องมาจากอิทธิพลของภาษาถิ่น
   1.2 เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคาโดยไม่จาเป็น
   1.3 เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาดฟาด
2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3. ความผิดปกติด้านเสียง
   3.1 ระดับเสียง เช่น การพูดเสียงสูงเกินไป ต่ำเกินไป หรือพูดระดับเสียงเดียวกันหมด
   3.2 ความดัง เช่น พูดเสียงดังมาก หรือเบามากจนเกินไป
   3.3 คุณภาพของเสียง เช่น พูดเสียงแตกพร่า เสียงแหบ เสียงหอบ เสียงขึ้นจมูก เสียงแปร่ง
4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia ที่ควรรู้จักได้แก่
   4.1 Motor aphasia (Expressive หรือ Broca’s apasia) หมายถึงผู้ที่เข้าใจคาถาม หรือคาสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลาบาก พูดช้า ๆ พอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้ แต่พูดไม่ถูกไวยากรณ์
   4.2 Wernicke’s aphasia (Sensory หรือ Receptive aphasia) หมายถึงผู้ที่ไม่เข้าใจคาถาม หรือคาสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย (word deafness) ผู้ที่ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คาผิด ๆ หรือใช้คาอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน (Paraphasia) ผู้ที่มักจะพูดตามไม่ได้ (Anomia) ผู้ที่ไม่เข้าใจภาษาเขียน หรือ tactile speech symbol (word blindness)
   4.3 Conduction aphasia หมายถึงผู้ที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคาถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
   4.4 Nominal aphasia (Anomic aphasia) หมายถึงผู้ที่ออกเสียงได้ เข้าใจคาถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคา มักเกิดร่วมไปกับ Gerstmann’s syndrome
   4.5 Global aphasia หมายถึงผู้ที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน พูดไม่ได้เลย
   4.6 Sensory agraphia หมายถึงผู้ที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคาถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann’s syndrome
   4.7 Motor agraphia หมายถึงผู้ที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ และเขียนตามคาบอกไม่ได้ เพราะมี apraxia ของมือ
   4.8 Cortical alexia (Sensory alexia) หมายถึงผู้ที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
   4.9 Motor alexia หมายถึงผู้ที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
   4.10 Gerstmann’s syndrome หมายถึงผู้ที่ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia) ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria) ทาคานวณไม่ได้ (acalculia) เขียนไม่ได้ (agraphia) อ่านไม่ออก (alexia)
   4.11 Visual agnosia หมายถึงผู้ที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้ (finger agnosia)
   4.12 Auditory agnosia (word deafness) หมายถึงผู้ที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของคา หรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ

สิ่งที่ได้จาการเรียนรู้
เด็กพิเศษแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน ถึงแม้ทางร่างกายพิการแต่จิตใจนั้นเด็กก็ต้องการที่จะได้รับความอบอุ่น ความเอาใจใส่ ความช่วยเหลือจากครอบครัวและสังคม

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่2

-วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่องความต้องการของเด็กพิเศษ
          **ความหมาย
          **ประเภทของเด็กพิเศษ

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


 1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่า เด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย หรือการสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ เนื้อเยื่อหรือระบบเส้นประสาทก็ได้ ซึ่งความผิดปกติ ความบกพร่อง หรือการสูญเสียสมรรถภาพเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเขา ทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ แต่หากมีการแก้ไขอวัยวะที่บกพร่องไปให้สามารถใช้งานได้ดังเดิมแล้ว สภาพความบกพร่องอาจหมดไป 

2. ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล

ประเภทและลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษแล้ว จะสามารถจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง หรือมีความเป็นเลิศทางสติปัญญา ซึ่งเรียก
โดยทั่ว ๆ ไปว่า เด็กปัญญาเลิศ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่สามารถพัฒนาตนเองได้ดี เพราะเป็นผู้ที่มีความสามารถทางสติปัญญา และ/หรือความถนัดเฉพาะทาง เมื่อเทียบกับระดับพัฒนาการในด้านต่าง ๆ กับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กในช่วงอายุเดียวกันแล้วพบว่า สูงกว่าค่าเฉลี่ย หรือเร็วกว่าค่าเฉลี่ยที่มีการกำหนดไว้ ทั้งในด้านการรับรู้ และความ สามารถในการแก้ปัญหา ด้านปริมาณและคุณภาพ เมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญาจะพบว่าระดับสติปัญญาสูงกว่า 120 ขึ้นไป
2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง ด้อยความสามารถ หรือมีปัญหา เด็กเหล่านี้มักจะเรียนรู้ได้ช้า และมีปัญหาในการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาด้านต่าง ๆ เป็นไปได้ไม่เท่าเทียมกับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กเมื่อเทียบกับเด็กในช่วงระดับอายุเดียวกัน ดังนั้นการจะให้การศึกษา หรือการจะพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ และให้การช่วยเหลือเป็นพิเศษตามความเหมาะสม ซึ่งจำแนกได้เป็น 8 ประเภท คือ
   2.1 เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
   2.2 เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
   2.3 เด็กบกพร่องทางการเห็น
   2.4 เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
   2.5 เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
   2.6 พร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
   2.7 เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
   2.8 เด็กออทิสติก
   2.9 เด็กพิการซ้อน
   2.10 (เด็กปัญญาเลิศ)

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
 เด็กบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่า
เกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ
1. เด็กเรียนช้า หมายถึง เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติจัดเป็นพวกขาดทักษะในการเรียนรู้ หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย เด็กเหล่านี้จะมีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
2. เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีภาวะพัฒนาการของจิตใจหยุดชะงัก หรือเจริญไม่
เต็มที่ ซึ่งแสดงลักษณะเฉพาะ คือ มีระดับสติปัญญาต่ำ มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม คือ
2.1 เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก มีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่า 20 ลงไป ไม่
สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
 2.2 เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 20-34 ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
 2.3 เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 35-49 พอที่จะ
ฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดละออได้ เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
 2.4 เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 50-70 กลุ่มนี้พอจะเรียนในระดับประถมศึกษาได้ และสามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้ เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)
 เด็กบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ
1. เด็กหูตึง หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินถึงขนาดที่ทำให้มีความยากล าบากจนไม่สามารถเข้าใจคำพูด และการสนทนา แต่ไม่ถึงกับหมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยินด้วยหูเพียงอย่างเดียว โดยไม่มี หรือมีเครื่องช่วยฟัง แบ่งตามระดับการได้ยิน ซึ่งอาศัยเกณฑ์การพิจารณาอัตราความบกพร่องของหู โดยใช้ค่าเฉลี่ยการได้ยินที่ความถี่ 500, 1000 และ 2000 รอบต่อวินาที (เฮิร์ท : Hz) ในหูข้างที่ดีกว่า จำแนกได้4 กลุ่ม คือ
1.1 เด็กหูตึงระดับน้อย มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 26-40 เดซิเบล (dB) เด็กจะมีปัญหาใน
การรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ
1.2 เด็กหูตึงระดับปานกลาง มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41-55 เดซิเบล (dB) เด็กจะมี
ปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติที่มีระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด ดังนั้นเมื่อพูดคุยด้วยเสียงธรรมดาก็จะไม่ได้ยิน หรือได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้ และมีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียเบา หรือเสียงผิดปกติ
 1.3 เด็กหูตึงระดับมาก มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56-70 เดซิเบล (dB) เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
1.4 เด็กหูตึงระดับรุนแรง มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71-90 เดซิเบล (dB) เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก เด็กจะสามารถได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยิน เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
2. เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยินด้วยหูเพียงอย่างเดียว โดยไม่มี หรือมีเครื่องช่วยฟังจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้ หากไม่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ ถ้าวัดระดับการได้ยินแล้วจะมีการได้ยินตั้งแต่ 91 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments Children)
 เด็กบกพร่องทางการเห็น หมายถึง ผู้ที่มองไม่เห็น หรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง และมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ หลังจากที่ได้รับการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์แล้ว หรือมีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา เด็กบกพร่องทางการเห็นจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
 1. เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรืออาจมองเห็นบ้างไม่มากนักไม่สามารถใช้สายตา หรือไม่มีการใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน หรือการทำกิจกรรมได้แต่จะต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นแทนในการเรียนรู้ และหากมีการทดสอบสายตาเด็กประเภทนี้จะพบว่า มีสายตาข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20/200 หรือน้อยกว่านั้น และมีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดจะแคบกว่า 5 องศา
 2. เด็กตาบอดไม่สนิท หรือบอดบางส่วน สายตาเลือนลาง หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ เมื่อทดสอบสายตาเด็กประเภทนี้จะมีสายตาข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20/60 หรือน้อยกว่านั้น และมีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดจะกว้างสูงสุดจะกว้างไม่เกิน 30 องศา

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
คนทุกคนบนโลกนี้ไม่ควรมองข้ามกัน ไม่ควรมองคนที่มีความพิการหรือคนมีความผิดปกติต่างๆ เป็นคนประหลาดและเป็นปัญหาของสังคม เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้ทำร้ายใคร เพียงแค่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากสังคม ถ้าทุกคนดูแลเอาใจใส่ ส่วนถ้าเป็นเด็กถ้าเราค่อยๆ สอนเด็กก็จะสามารถพัฒนาทักษะได้



วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่1

-วันนี้คุณครูได้ปฐมนิเทศ แนะแนวการสอนและวิธีการสอน จากนั้นก็ให้ทำแผนผังความคิด โดยให้นักศึกษาบอกความหมายของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในนิยามของนักศึกษาเอง จากนั้นก็ให้ตัวแทนออกไปนำเสนอแผนผังความรู้หน้าห้องเรียน ให้เพื่อนๆฟัง

แผนผังความรู้เรื่อง เด็กพิเศษ






ภาพการนำเสนอแผนผังความรู้







สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
ในการเรียนรู้แต่ละครั้งเราควรที่จะศึกษาและเตรียมตัวมาก่อน เพื่อที่เวลาเรียนในห้องจะได้มีความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องเรื่องเกี่ยวกับเด็กพิเศษมากถึงอะไร มีกี่ประเภท เทคนิคการสอน ควรเป็นแบบใด ที่จะทำให้พัฒนาการของเด็กดีขึ้น

งานที่ได้รับมอบหมาย
ในการเรียนแต่ละครั้งต้องมีาการบันทึกอนุทิน ลงบล็อกตัวเอง