วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่3

-อาจารย์สอนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)


เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง ผู้ที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลาบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน และการทากิจกรรมของเด็ก จำแนกได้ดังนี้

1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่
1.1 ซีพี หรือ ซีรีบรัล พัลซี่ (C.P. : Cerebral Palsy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กาลังพัฒนาถูกทาลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด ซึ่งทาให้เกิดกลุ่มอาการผิดปกติอย่างถาวรจนทาให้การควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อสูญเสีย หรือบกพร่อง เช่น การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ 
   1.1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
   1.1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับให้ไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
   1.1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
   1.1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างกายมีอาการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
   1.1.4 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทาให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกาลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย เดินเขย่งปลายเท้า ขาไม่มีแรงต้องใช้การท้าวโต๊ะหรือเก้าอี้เพื่อลุกยืนขึ้นหรือพยุงตัว อาการอาจเลวลงช้าหรือเร็วตามสภาพของเซลล์กล้ามเนื้อที่เสื่อมสมรรถภาพ และจะทาให้เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ ท้ายที่สุดต้องนอนอยู่กับที่ ซึ่งจะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจาเลวลง สติปัญญาเสื่อม
1.3 โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
   1.3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida) ทาให้เกิดความพิการของประสาทไขสันหลังส่วนนั้น ๆ สูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้ อาจมีน้าคั่งในสมอง และกระดูกเท้าพิการ เด็กประเภทนี้จะยืน เดินโดยใช้กายอุปกรณ์เสริม
   1.3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุทาให้กระดูกส่วนนั้นพิการ ขาสั้นเพราะการเจริญของกระดูกขาหยุดชะงัก
   1.3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือทันท่วงทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ
1.4 โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญที่ต่อมน้าเหลืองในลาคอ ลาไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทาลาย แขนหรือขาจะไม่มีกาลังในการเคลื่อนไหว ต่อมาทาให้มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา เพียงพิการแขนขา ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยกายอุปกรณ์เสริม
1.5 แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก หากเด็กที่มีความพิการมาแต่กำเนิดและได้รับการใส่กายอุปกรณ์เทียมเมื่ออายุยังน้อยจะสามารถปรับตัวได้ง่ายและดี แต่เด็กที่มีความพิการภายหลังถึงแม้จะได้รับการบาบัดรักษา ปรับสภาพ และฟื้นฟูสมรรถภาพจนสามารถเดินและใช้มือได้ด้วยกายอุปกรณ์เทียมแล้ว เด็กเหล่านี้ยังต้องการปรับตัว ปรับใจอีกระยะหนึ่ง
1.6 โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทาให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชัดจากกระดูกหน้าแข้ง
2. ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
2.1 โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง ที่พบบ่อยมีดังนี้ คือ
   2.1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชักจะทาให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น อาการชักอาจชักเป็นระยะสั้นหรือชักนานหลายนาที ชักครั้งเดียวหรือชักหลายครั้งติดต่อกัน ภายหลังการชักเด็กจะซึม อ่อนเพลียหรือหลับ และจาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างชักไม่ได้
   2.1.2 การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal) เป็นอาการชักชั่วระยะเวลาสั้น ๆ 5-10 วินาที เมื่อเกิดอาการชัก และหยุดชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย หลังจากนั้นก็จะเรียนหนังสือหรือทากิจกรรมต่อได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
   2.1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู่
   2.1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex) บางครั้งเรียกไซโคมอเตอร์ (Psychomotor) หรือเทมปอรัลโลบ (Temporal Lobe) เกิดอาการเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลาย ๆ ชั่วโมง ระหว่างมีอาการชักอาจกัดริมฝีปาก ทาท่าทางบางอย่างคล้ายไม่ตั้งใจ ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
   2.1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทาอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
2.2 โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม ซึ่งมีทั้งที่มีอาการรุนแรงหรือที่เป็นระยะยาวจนเกิดโรคแทรกซ้อน ปอดแฟบ
2.3 โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินซูลิน
2.4 โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
2.5 โรคศีรษะโตเนื่องจากน้าคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กาเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการอัมพาตของแขนขา สติปัญญาบกพร่องหรือมีอาการชักบ่อย ๆ
2.6 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด ที่มีอาการมากปากจะเขียว เล็บมือเล็บเท้าเขียว ถ้าได้รับการผ่าตัดรักษาในวัยทารกเด็กจะมีสุขภาพสมบูรณ์เหมือนคนปกติ
2.7 โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระดูก และไต
2.8 บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
การพูดและภาษาเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ทั้งนี้เพราะการพูดเป็นการแสดงออกทางภาษา ดังนั้นเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา จึงหมายถึง ผู้ที่พูดไม่ชัด และลีลาจังหวะการพูดผิดปกติ ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลาดับขั้น การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ คาพูดที่ยากหรือซับซ้อนหรือยาวจะยิ่งมีปัญหามากหรือมีอาการพูดและใช้ภาษาที่ผิดปกติ โดยการพูดนั้นเห็นได้ชัดว่าผิดแปลกไปจากการพูดของคนทั่วไป ทาให้ฟังไม่รู้เรื่อง สื่อความหมายต่อกันไม่ได้ หรือมีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด ซึ่งความบกพร่องทางการพูดและภาษาสามารถจำแนกได้ดังนี้ คือ

1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
   1.1 ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม เช่น พูดเสียงขึ้นจมูกเนื่องมาจากอิทธิพลของภาษาถิ่น
   1.2 เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคาโดยไม่จาเป็น
   1.3 เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาดฟาด
2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3. ความผิดปกติด้านเสียง
   3.1 ระดับเสียง เช่น การพูดเสียงสูงเกินไป ต่ำเกินไป หรือพูดระดับเสียงเดียวกันหมด
   3.2 ความดัง เช่น พูดเสียงดังมาก หรือเบามากจนเกินไป
   3.3 คุณภาพของเสียง เช่น พูดเสียงแตกพร่า เสียงแหบ เสียงหอบ เสียงขึ้นจมูก เสียงแปร่ง
4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia ที่ควรรู้จักได้แก่
   4.1 Motor aphasia (Expressive หรือ Broca’s apasia) หมายถึงผู้ที่เข้าใจคาถาม หรือคาสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลาบาก พูดช้า ๆ พอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้ แต่พูดไม่ถูกไวยากรณ์
   4.2 Wernicke’s aphasia (Sensory หรือ Receptive aphasia) หมายถึงผู้ที่ไม่เข้าใจคาถาม หรือคาสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย (word deafness) ผู้ที่ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คาผิด ๆ หรือใช้คาอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน (Paraphasia) ผู้ที่มักจะพูดตามไม่ได้ (Anomia) ผู้ที่ไม่เข้าใจภาษาเขียน หรือ tactile speech symbol (word blindness)
   4.3 Conduction aphasia หมายถึงผู้ที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคาถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
   4.4 Nominal aphasia (Anomic aphasia) หมายถึงผู้ที่ออกเสียงได้ เข้าใจคาถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคา มักเกิดร่วมไปกับ Gerstmann’s syndrome
   4.5 Global aphasia หมายถึงผู้ที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน พูดไม่ได้เลย
   4.6 Sensory agraphia หมายถึงผู้ที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคาถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann’s syndrome
   4.7 Motor agraphia หมายถึงผู้ที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ และเขียนตามคาบอกไม่ได้ เพราะมี apraxia ของมือ
   4.8 Cortical alexia (Sensory alexia) หมายถึงผู้ที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
   4.9 Motor alexia หมายถึงผู้ที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
   4.10 Gerstmann’s syndrome หมายถึงผู้ที่ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia) ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria) ทาคานวณไม่ได้ (acalculia) เขียนไม่ได้ (agraphia) อ่านไม่ออก (alexia)
   4.11 Visual agnosia หมายถึงผู้ที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้ (finger agnosia)
   4.12 Auditory agnosia (word deafness) หมายถึงผู้ที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของคา หรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ

สิ่งที่ได้จาการเรียนรู้
เด็กพิเศษแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน ถึงแม้ทางร่างกายพิการแต่จิตใจนั้นเด็กก็ต้องการที่จะได้รับความอบอุ่น ความเอาใจใส่ ความช่วยเหลือจากครอบครัวและสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น