วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่2

-วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่องความต้องการของเด็กพิเศษ
          **ความหมาย
          **ประเภทของเด็กพิเศษ

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


 1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้ว่า เด็กพิการ ดังนั้นเด็กที่มีความต้องการพิเศษจึงหมายถึง ผู้ที่มีความผิดปกติ ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือผู้ที่มีการสูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย หรือการสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ เนื้อเยื่อหรือระบบเส้นประสาทก็ได้ ซึ่งความผิดปกติ ความบกพร่อง หรือการสูญเสียสมรรถภาพเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเขา ทำให้เขาไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ดีเท่ากับคนปกติ แต่หากมีการแก้ไขอวัยวะที่บกพร่องไปให้สามารถใช้งานได้ดังเดิมแล้ว สภาพความบกพร่องอาจหมดไป 

2. ทางการศึกษา ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า หมายถึงเด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล

ประเภทและลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษแล้ว จะสามารถจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง หรือมีความเป็นเลิศทางสติปัญญา ซึ่งเรียก
โดยทั่ว ๆ ไปว่า เด็กปัญญาเลิศ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่สามารถพัฒนาตนเองได้ดี เพราะเป็นผู้ที่มีความสามารถทางสติปัญญา และ/หรือความถนัดเฉพาะทาง เมื่อเทียบกับระดับพัฒนาการในด้านต่าง ๆ กับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กในช่วงอายุเดียวกันแล้วพบว่า สูงกว่าค่าเฉลี่ย หรือเร็วกว่าค่าเฉลี่ยที่มีการกำหนดไว้ ทั้งในด้านการรับรู้ และความ สามารถในการแก้ปัญหา ด้านปริมาณและคุณภาพ เมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญาจะพบว่าระดับสติปัญญาสูงกว่า 120 ขึ้นไป
2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง ด้อยความสามารถ หรือมีปัญหา เด็กเหล่านี้มักจะเรียนรู้ได้ช้า และมีปัญหาในการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาด้านต่าง ๆ เป็นไปได้ไม่เท่าเทียมกับเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กเมื่อเทียบกับเด็กในช่วงระดับอายุเดียวกัน ดังนั้นการจะให้การศึกษา หรือการจะพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ และให้การช่วยเหลือเป็นพิเศษตามความเหมาะสม ซึ่งจำแนกได้เป็น 8 ประเภท คือ
   2.1 เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
   2.2 เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
   2.3 เด็กบกพร่องทางการเห็น
   2.4 เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
   2.5 เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
   2.6 พร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
   2.7 เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
   2.8 เด็กออทิสติก
   2.9 เด็กพิการซ้อน
   2.10 (เด็กปัญญาเลิศ)

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
 เด็กบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่า
เกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ
1. เด็กเรียนช้า หมายถึง เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติจัดเป็นพวกขาดทักษะในการเรียนรู้ หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย เด็กเหล่านี้จะมีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
2. เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีภาวะพัฒนาการของจิตใจหยุดชะงัก หรือเจริญไม่
เต็มที่ ซึ่งแสดงลักษณะเฉพาะ คือ มีระดับสติปัญญาต่ำ มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม คือ
2.1 เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก มีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่า 20 ลงไป ไม่
สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
 2.2 เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 20-34 ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
 2.3 เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 35-49 พอที่จะ
ฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดละออได้ เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
 2.4 เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 50-70 กลุ่มนี้พอจะเรียนในระดับประถมศึกษาได้ และสามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้ เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)
 เด็กบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง ผู้ที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ
1. เด็กหูตึง หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินถึงขนาดที่ทำให้มีความยากล าบากจนไม่สามารถเข้าใจคำพูด และการสนทนา แต่ไม่ถึงกับหมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยินด้วยหูเพียงอย่างเดียว โดยไม่มี หรือมีเครื่องช่วยฟัง แบ่งตามระดับการได้ยิน ซึ่งอาศัยเกณฑ์การพิจารณาอัตราความบกพร่องของหู โดยใช้ค่าเฉลี่ยการได้ยินที่ความถี่ 500, 1000 และ 2000 รอบต่อวินาที (เฮิร์ท : Hz) ในหูข้างที่ดีกว่า จำแนกได้4 กลุ่ม คือ
1.1 เด็กหูตึงระดับน้อย มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 26-40 เดซิเบล (dB) เด็กจะมีปัญหาใน
การรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ
1.2 เด็กหูตึงระดับปานกลาง มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41-55 เดซิเบล (dB) เด็กจะมี
ปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติที่มีระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด ดังนั้นเมื่อพูดคุยด้วยเสียงธรรมดาก็จะไม่ได้ยิน หรือได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้ และมีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียเบา หรือเสียงผิดปกติ
 1.3 เด็กหูตึงระดับมาก มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56-70 เดซิเบล (dB) เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
1.4 เด็กหูตึงระดับรุนแรง มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71-90 เดซิเบล (dB) เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก เด็กจะสามารถได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยิน เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
2. เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยินด้วยหูเพียงอย่างเดียว โดยไม่มี หรือมีเครื่องช่วยฟังจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้ หากไม่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ ถ้าวัดระดับการได้ยินแล้วจะมีการได้ยินตั้งแต่ 91 เดซิเบล (dB) ขึ้นไป

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments Children)
 เด็กบกพร่องทางการเห็น หมายถึง ผู้ที่มองไม่เห็น หรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง และมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ หลังจากที่ได้รับการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์แล้ว หรือมีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา เด็กบกพร่องทางการเห็นจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
 1. เด็กตาบอด หมายถึง เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรืออาจมองเห็นบ้างไม่มากนักไม่สามารถใช้สายตา หรือไม่มีการใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน หรือการทำกิจกรรมได้แต่จะต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นแทนในการเรียนรู้ และหากมีการทดสอบสายตาเด็กประเภทนี้จะพบว่า มีสายตาข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20/200 หรือน้อยกว่านั้น และมีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดจะแคบกว่า 5 องศา
 2. เด็กตาบอดไม่สนิท หรือบอดบางส่วน สายตาเลือนลาง หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ เมื่อทดสอบสายตาเด็กประเภทนี้จะมีสายตาข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20/60 หรือน้อยกว่านั้น และมีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดจะกว้างสูงสุดจะกว้างไม่เกิน 30 องศา

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
คนทุกคนบนโลกนี้ไม่ควรมองข้ามกัน ไม่ควรมองคนที่มีความพิการหรือคนมีความผิดปกติต่างๆ เป็นคนประหลาดและเป็นปัญหาของสังคม เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้ทำร้ายใคร เพียงแค่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากสังคม ถ้าทุกคนดูแลเอาใจใส่ ส่วนถ้าเป็นเด็กถ้าเราค่อยๆ สอนเด็กก็จะสามารถพัฒนาทักษะได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น