วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่14

สัปดาห์นี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่อง การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เนื้อหาที่เรียน

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว (Family Empowerment)
-ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถเด็ก (Ability Enhancement)
- การส่งเสริมโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากลาย
-ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
ส่งเสริมพัฒนาการ (Developmental Intervention)
-ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
-ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior Modification)
-เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-การให้แรงเสริม
แก้ไขการพูด (speech Therapy)
-โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
-ถ้าเด็กพูดได้เร็วโอกาสที่จะมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติเพิ่มมากขึ้น
-ลดการการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
-ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้นจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
-การสื่อสารความหมายทดแทน (AAC)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation)
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
-โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
ฝึกทักษะสังคม (Social Skills Training)
-ทักษะในชีวิตประจำวัน และฝึกฝนทักษะทางสังคม
-ให้เด็กสามารถทำด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา (Pharmacotherapy)
-Methylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง /ซน/หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
-Risperidone/Haloperidol ช่วยลดอาการไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมซ้ำ ๆ พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง
-ยาในกลุ่ม Anticonvulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง
การแพทย์เสริมและทางเลือก (Complementary and Alternative Medicine)
1. ศิลปะบำบัด (Art Therapy)       
2. ดนตรีบำบัด (Music Therapy)  
3. ละครบำบัด (Drama Therapy)  
4. การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
5. การฝังเข็ม (Acupuncture)         
6. เครื่องเอชอีจี (HEG; Hemoencephalogram)
พ่อ แม่ (Parent)
-“ลูกต้องพัฒนาได้
-“เรารักลูกของเราไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
-“ถ้าเราไม่รัก ใครจะรัก
-“หยุดไม่ได้
-ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
-ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
-หันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่12

สัปดาห์นี้อาจารย์สอนเนื้อหาและให้กลุ่มที่เหลือนำเสนอความบกพร่องของเด็กพิเศษ ให้เพื่อนๆได้รับชม แล้วให้เพื่อนประเมิน การนำเสนอของแต่ละกลุ่ม

เนื้อหาที่เรียน 

เรื่อง  พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

          พัฒนาการ  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                 

 พัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
- พัฒนาการด้านร่างกาย
- พัฒนาการด้านสติปัญญา
- พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
- พัฒนาการด้านสังคม
        เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ   หมายถึง  เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน ที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก 
          ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
          ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา  เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
     มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา  การใช้ภาษา  ความเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตัวเองและสังคม นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น  ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ยังคงอยู่ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป กล้ามเนื้ออ่อนนิ่มหรือเกร็ง อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการมองเห็น

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า
1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย (progressive encephalopathy)
2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่
2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ
2.2  ภาวะตับม้ามโต
2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers
 2.4 ระบบประสาทต่างๆ
2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่11

ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากสถานการณ์ของบ้านเมืองไม่ปกติ


ค้นคว้าเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่10

- นำเสนอประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  

กลุ่มที่1    Cerebral Palsy C.P
กลุ่มที่2    Children with Learning Disabilities L.D.
กลุ่มที่3    Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders

**ซึ่งนำเสนอได้เพียง 3 กลุ่มเท่านั้น เหลืออีก 2 กลุ่มที่ต้องนำเสนอสัปดาห์หน้า



ภาพบรรยากาศการนำเสนองาน





วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556